2021 UNESCO Prize for Girls' and Women's Education Laureates Celebration

15 October B.E. 2564 (2021)
ท่านแผน วรรณเมธี ประธานองค์การ พ.ส.ล. ได้มอบหมายให้ นางกาญจนา สุ่นสวัสดิ์ (กรรมการบริหาร) และนางเสาวนีย์ ชื่นสำราญ (รองเลขาธิการฯ) เข้าร่วมประชุมผ่านทางเว็บไซด์ เรื่อง UNESCO Prize for Girls’ and Women’s Education เมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ สำนักงานใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวันเด็กหญิงสากล ๒๐๒๑ รางวัลนี้เกิดจากการจัดตั้งของคณะกรรมการบริหารของ UNESCO เมื่อ พ.ศ. 2558  (2015) ในพิธีมอบรางวัลปีนี้ ศาสตราจารย์ Peng Liyuan สตรีหมายเลขหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีนและทูตพิเศษของ UNESCO เพีอความก้าวหน้าด้านการศึกษาของสตรีและเด็กผู้หญิง เข้าร่วมในพิธี รวมทั้ง ฯพณฯ Audrey Azoulay ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การ UNESCO

แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าอย่างมากมายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่เด็กหญิงราว 129 ล้านคน ไม่ได้รับการศึกษา อีกทั้ง 2 ใน 3 ของเด็กวัยประถมศึกษาไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนเลย (ที่มา: UNESCO Institute of Statistics) ดังนั้น UNESCO Prize for Girls’ and Women’s Education จึงได้จัดขึ้นเพื่อยกย่องผลงานของบุคคล สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นและสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาของเด็กผู้หญิงและสตรี นับเป็นครั้งแรกที่ UNESCO ได้จัดให้มีการให้รางวัลในลักษณะนี้ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและการสนับสนุนจาก UNESCO โดยจะมอบรางวัลให้ ๒ รางวัลต่อปี รางวัลละ USD 50,000 และจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2559 (2016) เพื่อให้บรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) และความเท่าเทียมทางเพศ (SDG5) ในปี พ.ศ. 2573 (2030)



ศาสตราจารย์ Peng Liyuan ได้กล่าวว่า การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลด้านลบต่อเด็กหญิงและสตรี จึงจำเป็นต้องดำเนินมาตรการที่ตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้พวกเขาได้รับการศึกษาที่เสมอภาคและมีคุณภาพ อีกทั้งยังได้เสนอแนะให้ใช้ Digital Technology อย่างเหมาะสมในการแบ่งปันแหล่งข้อมูลการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เพราะการศึกษาจะช่วยให้เด็กหญิงและสตรีได้รับความรู้และเรียนรู้ทักษะ เพื่อให้เกิดความสามารถและความมั่นใจในชีวิตที่ดีขึ้น



นอกจากนี้ ฯพณฯ Audrey Azoulay ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การ UNESCO ยังได้กล่าวว่า ไม่มีประเทศใดเพียงประเทศเดียวที่จะประสบความสำร็จในความท้าทายอันยิ่งใหญ่ใดๆในโลกนี้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยหลักทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และวัฒนธรรม



สำหรับระยะที่ ๒ ของโครงการนี้จะมีการมอบรางวัลต่อไปอีก 5 ปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและความร่วมมือของ UNESCO